โรคเครียด

โรคเครียด 

กลุ่มเสี่ยง

ทุกเพศ ทุกวัย ที่มีภาวะเครียดสะสม 

อาการที่พึงระวัง

อาการเวียนศรีษะ ปวดหลัง ปวกไหล่ ปวดขากรรไกร 

ลักษณะของโรค

ที่จริงแล้ว โรคเครียดคือโรคของจิตใจ อันมีสาเหตุจากความเครียด และความผิดปกติต่าง ๆ ในสมอง ความเครียดทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานแบบพร้อมสู้ ซึ่งจะทำให้เกิดการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ที่พบบ่อยคือ กล้ามเนื้อบริเวณหน้าฝชผาก ขมับ ท้ายทอย ต้นคอ และหัวไหล่ หรือในบางคนที่เป็นโรคเครียดลงกระเพาะ โดยเมื่อเกิดความเครียด กรดจะไหลอยู่ในกระเพาะอาหารมาก สำหรับบางรายที่มีอาการกรดย้อนกลับขึ้นมาอาจพบอาการเรอ อาเจียนเหม็นเปรี้ยว บางรายที่เครียดมาก อาจถึงขนาดอาเจียนได้ รวมไปถึงการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วย

โดยทั่วไป 1 ใน 10 คนจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ และจำนวนคนที่เป็นโรคเครียดจะเพิ่มขึ้นสูงทุก ๆ ปี โดยเฉพาะผู้หญิงจำนวน 1 ใน 2 คน จะพบว่าเป็นโรคนี้ โรคเครียดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเจ็บป่วยของตัวเอง เมื่อป่วยแล้วหาสาเหตุไม่พบ  สุดท้ายก็กลายเป็นผู้ป่วย โรคเครียดในที่สุด 

รู้ไว้ ห่างไกลโรค

1. การทำงานเริ่งรีบ ทำให้ระบบประสาททำงานเยอะ เป็นความเครียดของระบบประสาท วิธีการคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งก็คือ การปรับเปลี่ยนท่านั่งให้เหมาะสมเวลาทำงานคือ เวลานั่งให้ยืดตัวให้ตรง ห้ามห่อไหล่ แล้วฝึกเรื่องของการนวดกล้ามเนื้อด้วยตนเอง ใช้มือขวานวดกล้ามเนื้อข้างซ้าย และนวดกดเป็นจุด ๆ ไปจากหัวไหล่ และต้นแขน ใช้มือด้านซ้ายกดนวดไปที่กล้ามเนื้อต้นคอ และหัวไหล่ด้านขวา จากนั้นนวดต้นคอ โดยใช้นิ้วโป้งกดต้นคอ กดเป็นจุด ๆ ไล่ไปเรื่อย ๆ จากบนลงล่าง และนวดขมับสองข้าง และคลึงโดยรอบ

2. จำไว้เสมอว่าความเครียดมีทั้งที่เป็นโรค และไม่เป็นโรค ปกติอาการเครียดจะเกิดขึ้นเป็นประจำในบางสถานการณ์ แต่ถ้าในภาวะเครียดตามปกติจะไม่ถือว่าเป็นโรค และทางออกของความเครียดทั้ง 2 ลักษณะ คือ การปล่อยวาง และคิดเชิงบวก

3. วิธีตรวจสอบเบื้องต้นว่า เป็ฯโรคขากรรไกรอักเสบหรือไม่ ทำได้โดยการลองเอามือแตะที่ข้อต่อขากรรไกรดู ถ้ามีเสียงดังคลิกเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีอาการอะไร ไม่เจ็บ ไม่ปวด ก็ไม่ต้องเป็นกังวล

(ที่มา : เวิร์คพอยท์, รู้ไว้ ไกลโรค, ข้อมูลทางการแพทย์ : คณะแพทย์ เครือโรงพยาบาลพญาไท, สค 2556)