โรคพาร์กินสัน หรือสันนิบาต

 กลุ่มเสี่ยง

1. กลุ่มคนอายุ 20-80 ปี  แต่ส่วนใหญ่จะเป็นในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

2. พบในเพศชาย มากกว่าเพศหญิง

3. กลุ่มคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นพาร์กินสัน จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ประาณ 20%

4. กลุ่มคนที่ได้รับอุบัติเหตุที่ศรีษะมาก่อน

5. กลุ่มคนที่เป็นนักกีฬาที่มีความเสี่ยงกับโรคนี้ เช่น นักมวย

 อาการที่พึงระวัง

มีการสั่นที่มือ  เท้า  คาง และริมฝีปาก  เวลาที่อยู่เฉย ๆ แต่พอเคลื่อนไหว อาการสั่นจะน้อยลง  จนต่อมาอาการมือสั่นจะเริ่มชัดขึ้น  ลักษณะการเดินจะเดินก้าวสั้น ๆ ถี่ ๆ  การยืนทรงตัวจะทำได้ค่อนข้างลำบาก และสังเกตุจากการเขียนหนังสือ ผู้ป่วยโรคนี้จะสั่น ทำให้ตัวอักษรเล็ก และเบียดชิดกัน

 ลักษณะของโรค

โรคพาร์กินสัน  Parkinson"s Disease  หรือโบราณเรียกว่า โรคสันนิบาตชักกระตุก  เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมองบางส่วน  ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างสารโดปามีน  ซึ่งเป็นสารที่ช่วยในการเคลื่อนไหว  เมื่อสารตัวนี้ลดระดับลง จึงทำให้เำกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหว

โรคพาร์กินสัน เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ทราบสาเหตุ ภายในสมองของคนเรานั้น แบ่งเป็นส่วนเนื้อสมองส่วนบน  ก้านสมอง  สมองน้อย  และใจกลางสมอง  คือเป็นส่วนที่ควบคุมหลาย ๆ อย่าง รวมทั้งในส่วนของการเคลื่อนไหวในโรคพาร์กินสัน  แต่ส่วนที่เป็นสาเหตุของโรคนี้่ จะอยู่ตรงก้านสมองในส่วนของ  substantia nigra  เป็นส่วนที่สร้างสารโดปามีน  ถ้าเซลล์ในส่วนนี้ตายไป จะทำให้่มีการสร้างสารชนิดนี้ได้น้อยลง  การตายของเซลล์สมองส่วนนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุ  มีความเชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากสารอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดการตายของเซลล์ภายในร่างกายขึ้น

โรคพาร์กินสันนี้เกิดจากการที่ความสามารถในการสื่อสารของระบบประสาทลดน้อยลง ส่งผลให้เกิดอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย  ในกรณีที่ร้ายแรงมาก ๆ อาจถึงขึ้นต้องนอนรักษาอยู่บนเตียงของโรงพยาบาล  ไม่สามารถขยับตัวไปไหนได้เลย  ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด  ถือเป็นโรคที่ค่อนข้างยากในการรักษา แต่ก็ยังไม่ถึงกับเป็นโรคที่หายยาก หรือผิดปกติแต่อย่างใด  โรคพาร์กินสันสามารถเกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนตั้งแต่อายุ 20-80 ปี

อาการมือสั่นที่เกิดขึ้นตอนแรก เป็นสัญญาณเตือนขั้นต้น เนื่องจากโดปามีนมีไม่เพียงพอ จึงทำให้สมองสั่งการไม่ถูกต้อง  โดยจะบ่งบอกให้รู้ผ่านทางอาการมือเท้าสั่นเป็นส่วนใหญ่  และการที่ตั้งใจหยุดการสั่นแล้วมือกลับหยุดสั่นได้เอง  นั่นก็เป็นหลุมพรางหลุมใหญ่ของโรค

เมื่ออยู่ในภาวะเฉย ๆ อาการสั่นนั้นจะเกิดขึ้นทันที  ถือเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้  และนอกจากนั้นเมื่อเป็นโรคนี้แล้วก็จะยิ่งมีอาการชัดขึ้นทุกที  ยิ่งเมื่ออายุมากขึ้น ก็จะสามารถสังเกตุอาการสั่นได้ง่าย อาจเกิดอาการใบหน้าไร้ความรู้สึกขึ้น เป็นเพราะความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการสั่งการของกล้ามเนื้อ  ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อของใบหน้าด้วยเช่นกัน

ในที่สุดโรคก็พัฒนาไปถึงขั้นร้ายแรงจนถึงขั้นสุดท้าย เมื่อไม่สามารถพาร่างกายขยับไปไหนได้ ต้องทานยารักษาพร้อม ๆ กับการทำกายภาพบำบัดไปด้วย  ตอนนี้ก็ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน  แต่การทานยาก็จะช่วยควบคุมอาการของโรคได้

 วิธีการรักษา

1. การทานยา  เพื่อเติมโดปามีนที่หายไปในรูปของยาทดแทน

2. การผ่าตัด  เพื่อควบคุมอาการ ไม่ได้ทำให้หายขาด หรือไม่ต้องทานยา เพียงแต่สามารถลดขนาดยาที่ใช้ลงได้

 รู้ไว้  ห่างไกลโรค

1. หลีกเลี่ยงการเกิดปัจจัยเสี่ยง เช่น อุบัติเหตุ หรือการกระทบกระแทกที่ศรีษะอย่างรุนแรงบ่อย ๆ

2. พยายามหลีกเลี่ยงสารเคมี  สารพิษ  เช่น ยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ยาปราบศัตรูพืช

 (ที่มา : เวิร์คพอยท์, รู้ไว้  ไกลโรค, ข้อมูลทางการแพทย์ : คณะแพทย์ เครือโรงพยาบาลพญาไท, sep 2013)

 

ประสบการณ์ผู้ใช้ผลิคภัณฑ์ งานวิจัย Operation Bim

 


คำถาม-คำตอบ ผู้มีปัญหา... พาร์กินสัน
โดย รศ.ดร.ภญ.อำไพ ปั้นทอง