ประสบการณ์ น้ำในหูไม่เท่ากัน / บ้านหมุน

ทำความรู้จักโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคมีเนีย(Meniere’s disease) 

            โรคมีเนีย เป็น โรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นใน โดยมีน้ำในหูชั้นในมากผิดปกติ หูชั้นในของคนเรามีเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการได้ยิน อยู่ โดยปกติจะมีน้ำในหูชั้นใน ปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยินดังกล่าว และมีการไหลเวียนถ่ายเทเป็นปกติ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของน้ำในหู ขณะเคลื่อนไหวศีรษะ จะกระตุ้นเซลล์ประสาทดังกล่าว ให้มีการส่งสัญญาณไปยังสมองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อใดก็ตามมีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำในหู เช่น การดูดซึมของน้ำในหูไม่ดี ทำให้น้ำในหูชั้นในมีปริมาณมากขึ้นกว่าปกติ(endolymphatic hydrops)จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน ทำให้เซลล์ดังกล่าวทำงานผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการ         

  • ประสาทหูเสื่อม ผู้ป่วยจะมีการเสียการได้ยินแบบประสาทเสียงเสีย(sensorineural hearing loss)ทำ ให้หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็น ๆ หาย ๆ บางครั้งการได้ยินดีขึ้น บางครั้งการได้ยินเลวลง ในระยะแรกเริ่มมักมีการเสียของประสาทหูที่ความถี่ต่ำก่อน แต่ในระยะยาวแล้วระดับการได้ยินจะแย่ลงเรื่อย ๆ อาจถึงขั้นหูหนวกได้ ในระยะแรกอาจมีอาการที่หูข้างเดียว ในระยะหลังอาจมีอาการที่หูทั้งสองข้าง มีอาการปวดหู หรือปวดศีรษะข้างที่เป็นด้วยได้
  • มีเสียงดังในหู
  • อาการเวียนศีรษะ/บ้านหมุน บาง ครั้งอาจมี คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกร่วมด้วย อาการเวียนดังกล่าวมักเป็น ๆ หาย ๆ ส่วนใหญ่มักเวียนศีรษะไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่อาจเวียนเป็นชั่วโมงได้ เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ มักมีอาการทางหู เช่น หูอื้อ เสียงดังในหูร่วมด้วย อาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ต้องนอนพัก 

โรคนี้พบมากในคนอายุ 30-60 ปี พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยมากอาการมักจะเริ่มเมื่ออายุ 30 ปี ในประเทศไทยข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคนี้ยังมีน้อย โรคนี้มักเป็นในหูข้างเดียว แต่อาจเป็นทั้งสองหูได้ร้อยละ30 อาการ ของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด อาจมีอาการทุกวัน หรือนาน ๆ ครั้งก็ได้ ซึ่งไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอีกเมื่อไร แต่ละครั้งที่มีอาการ อาจมีอาการเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เป็นนาที หรือมีอาการเป็นระยะเวลานานเป็นชั่วโมงได้ อาจมีอาการน้อยหรือมากได้ นอกจากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง หรือท้องเสียร่วมด้วยได้

ประสบการณ์ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ งานวิจัย Operation Bim

 


บทสัมภาษณ์นักวิจัย รศ. ดร. ภญ. อำไพ ปั้นทอง


ประสบการณ์น้ำในหูไม่เท่ากัน


ประสบการณ์น้ำในหูไม่เท่ากัน


ประสบการณ์น้ำในหูไม่เท่ากัน


ประสบการณ์บ้านหมุน


ประสบการณ์น้ำในหูไม่เท่ากัน

มะเร็งเต้านม